วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555


ระบบระบายความร้อนเครื่องยนต์

 (Engine Cooling System) 

   เครื่องยนต์ทำงานด้วย "พลังงานความร้อน" ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง พลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นนั้น จะถูกเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานกลด้วยการดันลูกสูบให้เกิดการเคลื่อนที่ กำลังจะถูกถ่ายทอดไปตามชิ้นส่วนต่างๆ ผ่านเพลาข้อเหวี่ยง, ชุดคลัตช์, ชุดเกียร์, เพลาขับ ไปจนถึงล้อ นั่นเป็นเพราะพลังงานจะไม่มีการสูญหาย มีแต่การเปลี่ยนรูปของพลังงานไปเรื่อยๆ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในกระบอกสูบนั้นจะเกิดพลังงานความร้อน ที่มีอุณหภูมิสูงถึงประมาณ 3,000 องศาเซลเซียสเลยทีเดียวในขณะเกิดการเผาไหม้อย่างรุนแรง แต่อุณหภูมิที่ผิวของลูกสูบจะอยู่ประมาณ 900 องศาเซลเซียส หลายคนคงจะคิดไม่ถึงว่าทำไมมันถึงได้สูงขนาดนั้น เพราะเท่าที่รู้มาอุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 85-90 องศาเซลเซียสเท่านั้นเอง ไม่ใช่หรือ? ต้องทำความเข้าใจว่า "อุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์" นั้น หมายถึงอุณหภูมิโดยรวมของเครื่องยนต์ทั้งตัวนะครับ แต่ "อุณหภูมิในห้องเผาไหม้" นั้นเป็นอุณหภูมิที่เกิดขึ้นในขณะที่เกิดการเผาไหม้อย่างรุนแรงภายในกระบอกสูบ ดังนั้น ความหมายของทั้งสองคำจึงต่างกันอย่างชัดเจนนะครับ และระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์นั้นมีไว้เพื่อรักษาอุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์ให้คงที่ เป็นเพราะว่าเครื่องยนต์จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ตัวเครื่องยนต์เองต้องมีอุณหภูมิที่พอเหมาะด้วย แม้ว่าอุณหภูมิขณะลุกไหม้จะสูงมากแต่มันเกิดในช่วงเวลาสั้นๆ จากนั้นอุณหภูมิจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลง อุณหภูมิและความดันส่วนหนึ่งจะถูกปล่อยไปกับไอเสีย อีกส่วนหนึ่งก็จะถูกแผ่ไปยังชิ้นส่วนรอบๆ ห้องเผาไหม้

   เคยมีคนสงสัยว่าถ้าเครื่องยนต์ใช้พลังงานความร้อนในการขับเคลื่อน แล้วเราจะมีระบบระบายความร้อนไว้ทำไม? ทำไม! น่ะหรือครับ เป็นเพราะว่าเครื่องยนต์จะต้องสะสมความร้อนเอาไว้ในตัวเองระดับหนึ่ง นั่นคือที่มาของคำว่า "อุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์" กรณีที่อุณหภูมิของเครื่องยนต์ไม่คงที่นั้น จะส่งผลเสียกับเครื่องยนต์ไม่น้อย ถ้าอุณหภูมิของเครื่องยนต์สูงมากๆ จะทำให้ไอดีที่จะเข้ากระบอกสูบนั้นขยายตัวเร็วเกินไป จะทำให้เกิดการน็อกได้ง่าย (นอกจากปัญหาเรื่องนี้แล้ว มันยังส่งผลถึงเรื่องของอายุการใช้งานของชิ้นส่วนอื่นๆ ด้วย ทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, ยาง, พลาสติก, น้ำมันเครื่อง รวมถึงชิ้นส่วนอื่นๆ ที่อยู่รอบๆ จะมีอายุการใช้งานสั้นลง)กลับกัน ถ้าเครื่องยนต์มีอุณหภูมิต่ำมากๆ จะทำให้การแตกตัวของไอดีทำได้ยาก ไอดีจะกลั่นตัวแล้วเกาะตามผนังกระบอกสูบ ทำให้ฟิล์มของน้ำมันหล่อลื่นที่เคลือบผิวกระบอกสูบถูกชะล้างออกไป ทำให้เกิดการสึกหรอมากขึ้น เพราะไม่มีฟิล์มของน้ำมันเครื่องคอยป้องกัน นอกจากนั้นการเผาไหม้ก็จะไม่ค่อยสมบูรณ์นัก เนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำมาก ทำให้การแตกตัวของไอดีทำได้ยาก การเผาไหม้จึงไม่สมบูรณ์ แถมยังจะทำให้หัวเทียนบอดง่ายอีกต่างหาก การแก้ไขปัญหาทั้งสองอย่างนี้ก็คือการรักษาอุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์ให้คงที่ ระหว่าง 85-90 องศาเซลเซียส เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้ประโยชน์จาก "ระบบระบายความร้อน" ซึ่งสามารถแบ่งหน้าที่ได้ 2 ประการด้วยกันคือ 1. รักษาอุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์ให้คงที่ และ 2. ระบายความร้อนส่วนเกินออกไป
ระบบระบายความร้อนมี 2 แบบ
   เมื่อรู้ถึงหน้าที่ของระบบระบายความร้อนแล้ว สิ่งที่อยากจะแนะนำให้รู้จักต่อไปคือ การแบ่งประเภทของการระบายความร้อน ในปัจจุบันรถยนต์ที่เราใช้กันอยู่นี้มีระบบระบายความร้อนอยู่ 2 ประเภทหลัก คือ
1. ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ 
2. ระบบระบายความร้อนด้วยของเหลว 

ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ
 นั้น ปัจจุบันมีรถเพียงไม่กี่รุ่นที่ยังคงใช้อยู่ อย่างเช่นซูเปอร์คาร์นามว่า "เจ้าชายกบ" หรือ PORSCHE แต่หน้าตาและการวางรูปแบบของระบบระบายความร้อนนั้นไม่ค่อยจะคุ้นตาคนไทยสักเท่าไหร่ เนื่องจากเป็นรถที่เกินเอื้อมของคนทั่วไป แต่ถ้าเป็น "VW Beetle" หรือเจ้าเต่ารุ่นเก่าคงจะคุ้นเคยกันมากกว่า ข้อดีของระบบระบายความร้อนประเภทนี้ก็คือ สามารถออกแบบให้เครื่องยนต์มีขนาดกะทัดรัดและดูแลรักษาง่าย แถมมีต้นทุนที่ต่ำ เพราะการออกแบบครีบระบายความร้อนรอบๆ กระบอกสูบทำได้ง่ายกว่าการทำท่อทางเดินน้ำในเสื้อสูบ การควบคุมอุณหภูมินั้น จะมีพัดลมระบายความร้อนเป็นตัวนำอากาศเย็นจากภายนอกเข้ามาระบายความร้อนของเครื่องยนต์ มีโครงพัดลมและท่อทางคอยนำอากาศเข้ามา จะมีลิ้นควบคุมปริมาณลมคอยเปิดให้ลมเข้ามากน้อยตามอุณหภูมิของเครื่องยนต์ โดยใช้เทอร์โมสตรัทเป็นตัวควบคุมอีกทีหนึ่ง แต่การควบคุมอุณหภูมิในเมืองร้อนอย่างบ้านเราทำได้ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากอากาศร้อน แถมสภาพการจราจรก็ค่อนข้างติดขัด แม้ว่าจะมีการออกแบบระบบระบายความร้อนมาค่อนข้างดี แต่เจออากาศบ้านเราไปก็จอดเหมือนกัน หลายๆ คนจึงติด "ออยล์คูลเลอร์" สำหรับระบายความร้อนของน้ำมันเครื่องช่วยอีกทาง เนื่องจากความร้อนของเครื่องยนต์ส่วนหนึ่งถูกระบายไปกับน้ำมันเครื่องด้วย

ระบบระบายความร้อนด้วยของเหลว มีใช้ในรถยนต์ส่วนใหญ่เป็นที่นิยมมาก เพราะมีข้อดีตรงที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้อย่างแม่นยำทุกสภาพอากาศ ส่วนประกอบหลักๆ ของระบบระบายความร้อนด้วยของเหลวหรือที่เราเรียกติดปากกันว่าระบายความร้อนด้วยน้ำนั้น มีส่วนประกอบสำคัญๆ ดังนี้

1. ทางเดินน้ำ จะมีอยู่ในเสื้อสูบและฝาสูบ ใช้เป็นทางเดินของระบบระบายความร้อน เพื่อนำความร้อนของเครื่องยนต์มาระบายทิ้งที่หม้อน้ำ
2. หม้อน้ำ เป็นตัวกลางสำหรับแลกเปลี่ยนความร้อนของน้ำจากเครื่องยนต์ ไปสู่อากาศภายนอกและเป็นที่กักเก็บน้ำด้วยในตัว
3. พัดลมระบายความร้อน มีหน้าที่เป็นตัวดูดอากาศให้ผ่านหม้อน้ำเพื่อพาความร้อนออกไป
4. ปั๊มน้ำ มีหน้าที่หมุนวนน้ำในระบบให้มีการถ่ายเทความร้อนจากเครื่องยนต์ออกไป
5. เทอร์โมสตรัท มีหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของเครื่องยนต์ให้คงที่ ตัวมันเหมือนเป็นประตูคอยเปิด-ปิดให้น้ำเกิดการหมุนวน
6. ฝาหม้อน้ำ มีหน้าที่เพิ่มแรงกดให้กับน้ำในระบบ สามารถเพิ่มแรงดันในหม้อน้ำเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 1 บาร์ หรือ 14.7 ปอนด์/ตารางนิ้ว ทำให้น้ำในหม้อน้ำมีจุดเดือดสูงขึ้นประมาณ 127 องศาเซลเซียส น้ำในหม้อน้ำจะเดือดยากขึ้น


ระบบระบายความร้อนหรือหล่อเย็น
http://www.supradit.com/contents/carscare/basic/basic-a8.html 

ส่วนประกอบที่ช่วยในการระบายความร้อน 


ปั๊มน้ำ


หน้าที่การทำงาน
ทำให้น้ำหมุนเวียนจากเครื่องไปยังหม้อน้ำแล้วไหลกลับเข้า เครื่องการทำงานของ ปั๊มน้ำจะอาศัยสายพานจาก เครื่องยนต์มาหมุนและจะมีลูกปืน มารองรับในการหมุน
ปัญหา
สาเหตุที่ทำให้ปั๊มน้ำไม่ทำงาน สาเหตุแรกก็คือสายพานขาด เมื่อสายพานขาดปั๊มน้ำก็ไม่สามารถหมุน เมื่อปั๊มน้ำไม่หมุนก็ไม่มีการไหลเวียนของน้ำเพื่อเอาความร้อนออกจากเครื่องยนต์
สาเหตุอีกประการหนึ่ง คือการสึกหรอ หรือแตกของลูกปืนจะทำให้ปั๊มน้ำปิดตายไม่ยอมหมุน
หรือหมุนแบบแกว่งตัว ทำให้ส่วยอื่นของเครื่องยนต์เสียหายตามไปด้วย ส่วนปัญหาที่เจอกันบ่อยของปั๊มน้ำก็คือปั๊มน้ำรั่ว การตรวจสอบทำโดยการติดเครื่องและเร่งเครื่องยนต์จะทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าจะมีน้ำไหลออกมา
แต่ถ้าจอดรถไว้เฉย ๆ โดยไม่มีการติดเครื่องยนต์ หรือติดเครื่องในรอบเดินเบาน้ำจะไม่รั่วซึมให้เห็นการรั่วของปั๊มน้ำส่วนมากมักจะเกิด
ในบริเวณซิลแกนหมุนน้ำจะไหลออกมาทางด้านหน้าและออกจากรูระบายอากาศ
วิธีดูแลรักษา
1. ต้องคอยตรวจสอบสายพานให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ อย่าให้ขาด สายพานควรจะเปลี่ยนใหม่เมื่อมีการใช้งานรถเป็นระยะทาง 40,000 ก.ม
2. เมื่อลูกปืนปั๊มน้ำมีเสียงดังแสดงว่าลูกปืนสึกหรอควรรีบเปลี่ยนทันที
3. การตรวจสอบแบริ่งของปั้มน้ำ ทำโดยจับใบพัดทั้งส่วนบนและล่างและโยกไปมาข้างหน้าและข้างหลัง ถ้าใบพัดขยับได้แสดงว่าแบริ่งปั้มน้ำสึกหล่อ ต้องเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าปั๊มน้ำไม่มีใบพัด ให้จับบนพูลเลย์ ในบางครั้งซีลปั๊มน้ำรั่วจะมีน้ำไหลออกมา หรือแบริ่งมีเสียงก็ควรเปลี่ยนปั๊มน้ำใหม่

วาล์วน้ำ (เทอร์โมสตัท)


หน้าที่การทำงาน
ทำหน้าที่ปิดกั้นทางเดินน้ำไม่ให้ไหลเข้าเครื่องเมื่อเครื่องยนต์เย็น เพื่อที่จะทำให้เครื่องยนต์ร้อนถึงอุณหภูมิการทำงานเร็วขึ้น
 ปัญหา
วาล์วน้ำเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ค่อยมีปัญหา แต่ก็ยังมีโอกาสเสีย เช่น วาล์วน้ำไม่เปิดเมื่อร้อนเนื่องจากเกิดการเสื่อมสภาพ ทำให้เครื่องร้อนจัด(โอเวอร์ ฮีท) การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าทำได้โดยการถอดวาล์วน้ำออกชั่วคราว ก่อนถอดวาล์วน้ำออก ให้ถ่ายน้ำหล่อเย็นออกบางส่วน ถอดท่อน้ำออกจากโลหะ ถอดแป้นเกลียวที่ยึดฝาครอบวาล์วน้ำ ควรคลายแป้นเกลียวออกทีละน้อย ๆ เพื่อไม่ให้ฝาครอบบิดตัว ถ้าฝาครอบติดแน่นบนเสื้อหุ้ม ให้ใช้แท่งไม้ตอกเบา ๆ เพื่อให้ฝาครอบหลุดออกมา หลังจากนั้นยกวาล์วน้ำออกและควรใช้เศศษผ้าอุดช่องเปิดไว้ก่อน ขูดปะเก็นเก่าออกให้หมดแล้วทำความสะอาดผิวหน้าประกบและเปลี่ยนประเก็นใหม่ สังเกตว่าวาล์วน้ำเสียหรือไม่ดูจากจากการเปิดฝาหม้อน้ำแล้วติดเครื่องยนต์จนร้อนแล้วเร่งเครื่อง ถ้าเกจ์วัดความร้อนขึ้นสูงแต่ไม่มีการหมุนวนของน้ำอย่างเร็วโดยดูจากช่องฝาปิดหม้อน้ำที่เปิดไว้ แสดงว่าวาล์วน้ำมีปัญหา หรืออีกกรณีหนึ่งการที่วาล์วเปิดตลอดเวลาทำให้เครื่องยนต์ร้อนช้า ถ้าเปิดฝาหม้อน้ำแล้วเร่งเครื่องถึงแม้ว่าเครื่องยนต์จะเย็นก็ตามแต่จะมีการหมุนวนของน้ำอย่างเร็ว

วิธีดูแลรักษา
การตรวจสอบวาล์วน้ำทำโดยเริ่มตันจากการสตาร์ตเครื่องยนต์ในขณะที่เครื่องเย็น ใช้มือสัมผัสที่หม้อน้ำหรือท่อน้ำอันบน ซึ่งในช่วงแรกยังคงเย็นอยู่แต่ถ้าผ่านไปสัก 2 - 3 นาที จะร้อนขึ้นอย่างเร็ว แสดงว่าวาล์วน้ำทำงานผิกปกติ แต่ถ้าค่อย ๆ ร้อนขึ้นทีละหน่อย แสดงว่าวาล์วน้ำเปิดค้างตลอดเวลา แต่ถ้าร้อนขึ้นช้ามากและเครื่องเริ่มร้อนจัด แสดงว่าวาล์วน้ำปิดตายถ้าต้องการทราบว่าวาล์วน้ำทำงานได้หรือไม่ ทำโดยถอดวาล์วน้ำแล้วนำไปแช่ในน้ำร้อน เมื่อน้ำมีอุณหภูมิขึ้นจนมีค่าใกล้เคียงกับอุณหภูมิทำงานที่แสดงไว้บนวาล์ว วาล์วน้ำจะเปิดออก และเมื่อยกวาล์วน้ำขึ้นจากน้ำร้อนแล้วบ่อยให้เย็น วาล์วน้ำก็จะปิด


หม้อน้ำ

หน้าที่การทำงาน
ระบายความร้อนของน้ำที่เดินทางมาจากเครื่องยนต์ โดยที่หม้อน้ำจะมีท่อทางเดินน้ำ แล้วปิดด้วยครีบรังผึ้งเพื่อระบายความร้อนมาที่ครีบ เมื่อลมพัดผ่านท่อทางเดินน้ำก็เกิดการถ่ายเทความร้อนไปกับลม ทำให้น้ำเย็นตัวลง
ปัญหา
การรั่วของหม้อน้ำ ถ้ารั่วตามตะเข็บตัวล่างจะทำให้สังเกตได้ยากเพราะเพราะส่วนของหม้อน้ำจะบังเอาไว้ แต่ถ้ามีการรั่วซึมในบริเวณอื่นจะสังเกตได้ง่าย ปัญหาอีกอย่างหนึ่งของหม้อน้ำก็คือการอุดตัน
ถ้ามีการอุดตันของหม้อน้ำ ต้องมีการถอดหม้อน้ำออกมาทำความสะอาดโดยการทะลวงเอาสิ่งสกปรกออกมา แต่ถ้าเป็นหม้อน้ำรุ่นใหม่ที่เป็นอลูมิเนียมและใช้ฝาครอบพลาสติกจะใหญ่จะถอดออกมาไม่ได้ การใช้น้ำยาล้างหม้อน้ำแก้การอุดตันของหม้อน้ำส่วนใหญ่จะได้ผลไม่ดีนัก ดังนั้นผู้ขับขี่ควรจะมีการป้องกันการอุดตันของหม้อน้ำ โดยการใช้น้ำยาหม้อน้ำของทางบริษัทรถ และมีการเปลี่ยนน้ำปีละครั้งหรือสองครั้งตามคำแนะนำของคู่มือรถ


ฝาปิดหม้อน้ำ

หน้าที่การทำงาน
ฝาหม้อน้ำสามารถเก็บแรงดันในหม้อ ทำให้จุดเดือดของน้ำเพิ่มสูงขึ้น เป็น 120 องศาเซลเซียส จากเดิม 100 องศาเซลเซียสปัญหา
ความดันของหม้อน้ำจะถูกควบคุมด้วยฝาหม้อน้ำ ดังนั้นต้องมีการตรวจสอบการทำงานของวาล์ว แหวนซีลต้องขยับตัวได้อิสระต้านกับแรงสปริง และแหวนยางต้องมีสภาพที่ดี แผ่นยางและสปริง เมื่อใช้งานไปนาน ๆ แผ่นยางจะเสื่อมไม่สามารถเก็บแรงดันได หรือสปริงเสื่อมแรงต้านลดลงไม่สามารถเก็บแรงดันได้สูง เมื่อน้ำมีอุณหภูมิสูงจะไหลกลับไปยังถังพักน้ำ แต่จะไม่ไหลกลับเข้าหม้อน้ำเมื่อเมื่อเครื่องเย็น ทำให้น้ำในหม้อน้ำลดลง ขาดประสิทธิภาพในการระบายความร้อนทำให้เครื่องยนต์มีความร้อนสูงกว่าปกติ

วิธีดูแลรักษา
ต้องทำการตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำเป็นประจำ ปกติระดับน้ำในหม้อน้ำจะเต็มเสมอ หากผู้ขับขี่ตรวจพบว่ามีการพร่องของน้ำในหม้อน้ำ แสดงว่ามีการรั่วของหม้อน้ำ หรือระบบระบายความร้อนมีปัญหา บางครั้งอาจมีสาเหตุมาจากการปล่อยน้ำในถังพักน้ำแห้งเนื่องจากฝาหม้อเสื่อมสภาพ การเปลี่ยนฝาหม้อน้ำใหม่ จะต้องมีขนาดเขี้ยวล๊อคฝา และแรงดันเท่าเดิม ต้องสังเกตด้วยว่าเป็นหน่วยอะไร


ถังพักน้ำ

หน้าที่การทำงาน
เมื่อน้ำในหม้อร้อนและขยายตัว มันจะดันผ่านวาล์วฝาปิดหม้อน้ำไหลมาถังพักน้ำ เมื่อเครื่องยนต์เย็นน้ำและแรงดันในหม้อลดลง มันจะดูดน้ำจากถังพักน้ำไหลเข้าหม้อน้ำ

ปัญหา
ถ้าผู้ขับขี่พบว่าเวลาเคื่รองเย็นน้ำในถังพักน้ำมีปริมาณมากผิดปกติ โดยที่ไม่ได้เติมน้ำเกินขีดสูงสุด แสดงว่าปะเก็นฝาสูบอาจจะแตก ผู้ขับขี่สามารถตรวจเช็ค้ดวยการเปิดฝาหม้อน้ำเอาไว้ ติดเครื่องจนเครื่องร้อนแล้วเร่งเครื่อง สังเกตน้ำในหม้อน้ำถ้ามีฟองอากาศวิ่งผ่านแสดงว่าฝาปะเก็นสูบแตก ในทางกลับกันพบว่าน้ำในถังลดระดับเร็วจนต้องเติมน้ำบ่อย ๆ แสดงว่าฝาหม้อน้ำมีปัญหา หรือมีการรั่วในระบบระบายความร้อน




พัดลมระบายความร้อน

หน้าที่การทำงาน
มีหน้าที่ดูดลมให้ผ่านรังผึ้งหม้อน้ำ เพื่อระบายความร้อนน้ำหล่อเย็น พัดลมจะมีปะโยชน์เมื่อรถวิ่งด้วยความเร็วต่ำหรือการจอดรถเป็นเวลานาน ๆ เช่น รถติด แต่ถ้ารถวิ่งด้วยความเร็วระดับ 60 กม./ชม.ขึ้นไป จะมีกระแสลมที่มาปะทะรังผึ้งหม้อน้ำ เครื่องยนต์ก็ไม่จำเป็นต้องใช้พัดลม ในเวลารถติดถ้าพัดลมมีประสิทธิภาพในการทำงานไม่เพียงพอ จะทำให้เครื่องยนต์มีความร้อนสูง
ปัญหา
สาเหตุที่พัดลมมีประสิทธิภาพในการทำงานไม่เพียงพอ เนื่องมาจาก ใบพัดเสื่อมสภาพไม่กินลม ชุดฟรีคลัทช์ของแกนใบพัดเสื่อม ทำให้ใบพัดหมุนช้าในรอบต่ำ

วิธีดูแลรักษา
เมื่อชุดฟรีคลัทช์ของแกนใบพัดเสื่อม วิธีแก้ไขต้องอัดน้ำยาประเภทพาราฟินเพิ่ม หรือเปลี่ยนชุดฟรีคลัทช์ใหม่ ส่วนรถที่ใช้พัดลมไฟฟ้า จะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบควบคุมทำให้ใบพัดไม่หมุน หรือหมุนแต่ไม่เร็วพอเนื่องจากการเสื่อมสภาพของมอเตอร์ใบพัด หรือถ่านสึก ต้องซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่


สายพาน
หน้าที่การทำงาน
ทำหน้าที่ขับเคลื่อนปั๊มน้ำ พัดลมและอัลเทอร์เนเตอร์

ปัญหา
ถ้าสายพานตึงเกินไปอาจทำให้แบริ่งของปั๊มน้ำและอัลเทอร์เนเตอร์เสียได้ แต่ถ้าสายพานหย่อนเกินไปจะเกิดการลื่นไถล ทำให้พัดลม ปั๊มน้ำ และอัลเทอร์เนเตอร์ทำงานไม่เต็มที่และจะทำให้สายพานเสียหายในที่สุด

เมื่อพบความผิดปกติของสายพานควรเปลี่ยนใหม่ก่อนที่จะขาด สภาพสายพานที่ควรเปลี่ยนใหม่ คือ

1. สายพานหักเป็นช่วง ๆ ตรวจสอบโดยการดัดสายพานให้โค้งงอ จะเห็นร่องรอยการแตกหักเป็นช่วง ๆ
2. สายพานถูกน้ำหล่อลื่นหรือจารบีจับเป็นเวลานาน จนมีสภาพอ่อนนุ่มและยุ้ย
ยางสายพานแยกตัวออกจากเส้นใย
3. สายพานมีลักษณะเป็นเงามันเนื่องมาจากการลื่นไถล ถ้าลื่นไถลมากจะเงามาก
ถ้าสายพานเพิ่งเริ่มเป็นเงาเพียงเล็กน้อยควรปรับให้ตึงขึ้นเลํกน้อย จะช่วยให้ดีขึ้น
4. สายพานมีรอยขาด เส้นใยเริ่มสึกและขาดในที่สุด
5. สายพานแยกตัวเป็นชั้น ๆ และเส้นใยแตกเป็นฝอย ปล่อยไว้นาน ๆ จะทำให้สายพานขาด

             การปรับความตึงของสายพานต้องคลายสลักเกียวที่อัลเทอร์เนเตอร์ ที่ยึดติดกับเครื่องยนต์ด้วยแป้นยึดและ
สลักเกียวที่ก้านปรับซึ่งจะมี ร่องสำหรับการปรับระยะ ถ้าต้องการปรับสายพานให้ตึง
ใช้ไม้สอดเข้าไประหว่าง อัลเทอร์เนเตอร์กับเสื้อสูบ แล้วงัดเบา ๆ เมื่อสายพานตึงตามที่ต้องการแล้ว
ก็ให้ขันสลักเกียวของก้านปรับใหเฃ้แน่น หลังจากนั้นก็ตรวจสอบความตึงของสายพานอีกครั้ง
แต่ถ้าสายพานตึงเกินไป ให้ดันอัลเทอร์เนเตอร์เข้าหาเครื่อง
การเปลี่ยนสายพานต้องคลายสลักเกียวออกทุกตัวก่อนและดันให้อัลเทอร์เนเตอร์เข้าหาเครื่องยนต์แล้วดึง
สายพานออกจากพูลเลย์อันบนสุดและถอดสายพานออกจากพูลเลย์ของเพลาข้อเหวี่ยงและปั๊มน้ำ
แต่ถ้าเครื่องยนต์ติดตั้งแบบตามขวาง ต้องถอดสายพานให้ผ่านใบพัดของพัดลม

             สำหรับเครื่องยนต์บางรุ่นต้องถอดกำบังลมออกก่อน การเลือกสายพานใหม่ควรเลือกชนิดที่ผู้ผลิตกำหนด และต้องตรวจสอบเบอร์ของสายพาน ให้เท่ากับสายพานเก่า ก่อนใส่สายพานควรทำความสะอาดร่องพูลเลย์ก่อน แล้วคล้องสายพานเข้าไปในร่องพูลเลย์ถ้าไม่สามารถใส่สายพานเข้าร่องพูลเลย์ได้ง่ายก็ให้หมุนพูลเลย
 โดยหมุนที่ใบพัดของพัดลมหรือใช้ประแจช่วยในการหมุนหลังจากนั้นตรวจดูว่าสายพานเข้าไป
ในร่องสายพานได้อย่างเหมาะสมและไม่บิดตัว แล้วปรับความตึงของสายพาน ควรตรวจสอบความตึงของสายพานหลังจากที่ใช้งานไปแล้ว 300 กิโลเมตร
เมื่อสายพานพัดลมมีเสียงดังเอี๊ยด ๆ อย่าใช้น้ำมันหล่อลื่นทาเด็ดขาดเพราะถ้าทาน้ำมันเสียงจะหายไปชั่วคราว แต่สายพานจะบวมหรือเหนียวจนใช้งานไม่ได้



ท่อยางตัวล่าง


หน้าที่การทำงาน
เป็นตัวนำน้ำจากหม้อน้ำที่เย็นลงบ้างแล้วกลับเข้าเครื่องยนต์
ปัญหา
จะเกิดการรั่วซึมของน้ำ ใช้มือบีบท่อน้ำตามความยาวของท่อให้สังเกตดูส่วนล่างของท่อยางหรือด้านล่างใต้ท่อยาง ว่ามีรอยของการรั่วซึมหรือการหยดของน้ำหรือไม่ โดยเฉพาะบริเวณส่วนโค้งและข้อต่อ ท่อน้ำต้องไม่นิ่มหรือแข็งกระด้าง หรือมีอาการบวมเพราะอาจจะทำให้ท่อแตกได้เมื่ออยู่ภายใต้ความดัน สายรัดท่อเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกับท่อ ควรมีการตรวจสอบสายรัดท่อด้วย
วิธีดูแลรักษา
ต้องตรวจเช็คสภาพและคอยเปลี่ยนเหมือนกับท่อยางตัวบน โดยเปลี่ยนท่อยางตัวบน 2 ครั้ง ต่อการเปลี่ยนท่อยางตัวล่าง 1 ครั้ง
การถ่ายน้ำหล่อเย็นควรทำทุก ๆ 2 - 3 ปี ควรทำในขณะที่เครื่องเย็น โดยการคลายปลั๊กถ่ายน้ำของหม้อน้ำออก ควรเปิดฝาหม้อน้ำด้วยเพื่อการไหลของน้ำเร็วขึ้น จากนั้นใส่ปลั๊กถ่ายน้ำเข้าที่เดิมแล้วเติมน้ำเข้าไปในหม้อน้ำ หลังจากนั้นก็ปล่อยให้เครื่องทำงานเพื่อที่จะไลฟอง่อากาศออกจากระบบ และอย่าลืมเติมน้ำในถังสำรองด้วย
เมื่อรถมีการใช้งานไปนาน ๆ น้ำหล่อเย็นจะหายไปบางส่วน การเติมน้ำหล่อเย็นไม่ควรทำในขณะที่เครื่องร้อนเพราะน้ำร้อนและไอน้ำภายใต้ความดันจะพุ่งออกมา แต่ถ้าจำเป็นจริงก็ควรใช้ผ้าปิดบนฝาหม้อน้ำ และค่อย ๆ คลายออกทีละน้อยเพื่อให้ความดันออกมาทีละน้อย
ถ้าน้ำในถังสำรองลดลงมากก็เติมในถังน้ำสำรองได้ทันทีควรมีการเติมน้ำยาผสมลงไปในน้ำ หล่อเย็นด้วยเพื่อป้องกันการเกิดตะกรันและเพิ่มจุดเดือดของน้ำให้สูงขึ้น ปริมาณน้ำยาที่เติมลงไปในน้ำควรมีปริมาณที่เหมาะสมตามที่กำหนด

ท่อยางตัวบน


หน้าที่การทำงาน
เป็นทางไหลของน้ำที่ได้รับความร้อนจากเครื่องยนต์แล้วไหลมายังหม้อน้ำเพื่อที่จะระบายความร้อน อายุการใช้งานของท่อยางตัวบนมักจะสั้นและเกิดปัญหาบ่อย จึงควรมีการตรวจสอบของท่อยางเป็นประจำว่า มีการแข็งตัว มีรอยแตก รอยบวมหรือไม่ แต่ถ้ามีอายุการใช้งานประมาณ 3 - 4 ปี ก็ควรจะเปลี่ยนใหม่และควรจะเปลี่ยนพร้อมกับเหล็กรัดท่อยาง ไม่ควรที่จะใช้เหล็กรัดตัวเก่าเพราะอาจจะทำให้รัดไม่แน่น หรือมีการคลายตัวทีหลัง
ปัญหา
จะเกิดการรั่วซึมของน้ำ ใช้มือบีบท่อน้ำตามความยาวของท่อให้สังเกตดูส่วนล่างของท่อยางหรือด้านล่างใต้ท่อยาง ว่ามีรอยของการรั่วซึมหรือการหยดของน้ำหรือไม่ โดยเฉพาะบริเวณส่วนโค้งและข้อต่อ ท่อน้ำต้องไม่นิ่มหรือแข็งกระด้าง หรือมีอาการบวมเพราะอาจจะทำให้ท่อแตกได้เมื่ออยู่ภายใต้ความดัน สายรัดท่อเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกับท่อ ควรมีการตรวจสอบสายรัดท่อด้วย


วิธีดูแลรักษา
อายุการใช้งานของท่อยางตัวบนมักจะสั้นและเกิดปัญหาบ่อย จึงควรมีการตรวจสอบของท่อยางเป็นประจำว่า มีการแข็งตัว มีรอยแตก รอยบวมหรือไม่ แต่ถ้ามีอายุการใช้งานประมาณ 3 - 4 ปี ก็ควรจะเปลี่ยนใหม่และควรจะเปลี่ยนพร้อมกับเหล็กรัดท่อยาง ไม่ควรที่จะใช้เหล็กรัดตัวเก่าเพราะอาจจะทำให้รัดไม่แน่น หรือมีการคลายตัวทีหลัง ผู้ขับขี่ต้องมีการตรวจสภาพของท่อน้ำสภาพของท่อน้ำที่ควรจะเปลี่ยนใหม่
1. ท่อน้ำที่มีสภาพบวมโปร่ง ควรมีการเปลี่ยนใหม่ทันที เพราะท่อน้ำอาจจะระเบิดได้ทุกเวลาเมื่อร้อนจัด หรืออยู่ภายใต้ความดันสูง การที่ท่อน้ำบวมมีสาเหตุจากบริเวณที่บวมมีคราบน้ำมันหล่อลื่นเปียกชื้นอยู่เสมอ
2. ท่อน้ำที่มีรอยแตกร้าวเป็นเส้นหรือแตกเป็นลาย ควรเปลี่ยนใหม่ทันทีเพราะถ้าปล่อยไว้นาน ๆ แล้วเส้นใยภายในท่อน้ำจะเริ่มขาดและท่อน้ำจะฉีกขาดในที่สุด
3. ปลายท่อน้ำชำรุดมีสาเหตุมาจากสายรัดท่อแน่นเกินไป กดยางจนเปื่อย หรือสายรัดหลวมเกินไป ทำให้มีน้ำรั่วออกมาในขณะที่เครื่องร้อน ปลายท่อจะบานและมีตะกอนจับ ดังนั้นควรใช้สายรัดท่อที่มีความกระชับพอดีกับขนาดท่อ
4. มีตะกอน ตะกรัน และสิ่งสกปรกอยู่ภายในท่อน้ำ ทำให้ท่อน้ำเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
5. ถ้าบีบท่อน้ำแล้วท่อน้ำนิ่มเกินไปหรือตีบแน่น หรือท่อน้ำแข็งจนบีบไม่ลง ควรเปลี่ยนใหม่

http://brcs592.blogspot.com/

ระบบระบายความร้อน
(ประโยชน์ของน้ำยา)